กลุ่มผู้ผลิตสินค้าแกะสลักจากไม้บ้านยางทอง
28 มิ.ย. 2559
รายละเอียด:
หมู่บ้าน OTOP OTOP Village Champion บ้านยางทอง หมู่ที่ 4 ตำบลสันปูเลย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ประวัติความเป็นมา บ้านยางทอง เดิมชื่อ บ้านยางทองใต้เป็นหมู่บ้านเก่าแก่ ที่ได้ก่อตั้งมานานร่วมสมัยกับการสร้างเมืองเชียงใหม่ ประมาณ 700 กว่าปี เมื่อมีการแยกหมู่บ้านจึงใช้ชื่อว่า “บ้านยางทอง” ผู้ใหญ่บ้านคนแรก คือ พ่อหนาน คำราพิช ปัจจุบันมีนาย ไกรราช คำราพิช เป็นผู้ใหญ่บ้านตั้งแต่ปี 2554-ปัจจุบัน ที่ตั้งและภูมิประเทศ บ้านยางทอง ตั้งอยู่ห่างจากอำเภอดอยสะเก็ด ประมาณ 14 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้ • ทิศเหนือ ติดหมู่ 13 ต.สันปูเลย • ทิศใต้ ติดหมู่ 12 ต.สันปูเลย • ทิศตะวันออก ติดหมู่ 2 บ้านสันต้นม่วงเหนือ ต.สำราษฎร์ • ทิศตะวันตก ติดหมู่ 5 ต.สันปูเลย ประชากร บ้านยางทอง มีประชากร 106 ครัวเรือน รวม 358 คน แยกเป็นชาย 172 คน หญิง 186 คน ประชากรมีอาชีพ แกะสลักไม้ร้อยละ 70 นอกจากนั้น ทำการเกษตร ทำงานราชการ รัฐวิสาหกิจ รับจ้าง ช่างซ่อมต่างๆ กลุ่มและองค์กรในหมู่บ้าน 1. กลุ่มหัตถกรรมแกะสลักบ้านยางทองและฝ้ายทอง 2. กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต จัดตั้งเมื่อกรกฎาคม 2543 ปัจจุบันมีสมาชิก 69 คน เงินสัจจะเดือนละ 7,550 บาท ปัจจุบันมีเงินสะสม 304,237 บาท ให้สมาชิกกู้ 13 คน เป็นเงิน 93,200บาท 3. กองทุนหมู่บ้าน จัดตั้งเมื่อมิถุนายน 2544 สมาชิก 85 คน เงินหุ้น 90,940 บาท มีเงินกองทุน 1,146,000บาท 4. กลุ่มอาชีพสตรีหมู่บ้าน จัดตั้งเมื่อปี2531 สมาชิกกลุ่ม58 คน มีเงินทุน 11,347 บาท 5. กลุ่มผู้สูงอายุ จัดตั้งเมื่อปี 2543 6. กลุ่มณาปนกิจสงเคราะห์ 7. ชมรมกีฬาหมู่บ้าน 8. ตลาดชุมชนบ้านยางทอง 9. กลุ่มประปาหมู่บ้าน 10. กลุ่มสาม สี่ 11. มูลนิธิสำเร็จ ด้านชุมชน 1. ผู้นำชุมชน วิสัยทัศน์บ้านยางทอง “หมู่บ้านหัตถกรรม ผู้นำสมานสามัคคี พัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง มุ่งสู่ชุมชนเข็มแข็งที่ยั่งยืน” 2. กลุ่ม OTOP ในชุมชน กลุ่มหัตถกรรมแกะสลักไม้บ้านยางทองและบ้านฝ้านทอง จัดตั้งเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2548 ระดมหุ้น หุ้นละ 100 บาท สมาชิก 30 คน ได้เงินค่าหุ้น 18,000 บาท นำไปลงทุนซื้อวัสดุอุปกรณ์ ไม้ กระดาษกดลาย กาว ฯลฯ มาบริการให้สมาชิกในราคาต้นทุนและสมาชิกผ่อนส่งเป็นรายสัปดาห์ รายเดือน โครงสร้างคณะกรรมการกลุ่มหัตถกรรมแกะสลักบ้านยางทองและบ้านฝ้ายทอง การบริหารกลุ่ม 1. กำหนดระเบียบข้อบังคับของกลุ่มฯ 2. มีแหล่งเงินทุนให้สมาชิกกลุ่มเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน 3. การจำหน่ายไม้แกะสลักแต่ละสลักชิ้นในศูนย์ฯและหักเข้ากลุ่มร้อยละ 10 เครือข่ายองค์กรในชุมชน 1. นายจำลอง สุดาจันทร์ (ผู้สูงอายุ) ประธาน 2. นาย บุญเชิด มาชัยวงศ์ (กทบ.) รองประธาน 3. นายทวีศักดิ์ สุดาจันทร์ (เยาวชน) เลขานุการ 4. นางชวนชม คะภูคำ (ออมทรัพย์) เหรัญญิก 5. จ่าเอกวันชัย จันขาว (กลุ่มเลี้ยงวัว) กรรมการ 6. ส.อ. เกรียงไกร ใจกันทะ (ชมรมกีฬา) กรรมการ 7. นางอรพิณ โปธิปัน (อสม) กรรมการ การแกะสลักไม้ จะมีขั้นตอนกระบวนการในการผลิต 4 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้ 1. การเตรียมแผ่น วิธีการเลือกไม้ที่จะนำมาแกะสลัก จากการสัมภาษณ์ของคุณลุงวิรัตน์ คะปุคำ ในการคัดสรรไม้ คือ ไม้ที่นำมาแกะสลักนั่นใช้ไม้ฉำฉา เนื้ออ่อน ได้สั่งไม้มาจากจังหวัดลำปาง แล้วนำมาคัดสรรไม้ที่เนื้อแดงๆ จากนั้นนำ แผ่นไม้มาเลื่อยให้สวยงามและนำมาขัดให้เรียบ 2. การเขียนลาย ขึ้นลาย จากการสัมภาษณ์ คุณป้าชวนชม คะปุคำ คือ ในการขึ้นลายนั้นจะขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้า ว่าลูกค้าต้องการแบบไหน แบบใหญ่หรือแบบเล็ก การเขียนลายนี้ใช้วิธีการเขียนลายลงบนกระดาษลอกลายก่อนแล้วค่อยนำไปกอปปี้ลายลงแผ่นไม้ โดยใช้แป้งเปียก แล้วนำไปตากแดดจนแห้ง ถึงจะนำมาฉลุลายได้ 3.การฉลุลาย จากการสัมภาษณ์คุณลุงคำ ใจกันทะ คือ การฉลุลายนั้นจะฉลุหลังจากการลอกลาย แล้วนำแผ่นไม้ที่ลอกลายแล้วไปฉลุเอาส่วนที่ไม่เป็นลายออก ด้วยเครื่องฉลุแบบเลื่อยของภูมิปัญญาของชาวบ้าน ชนิดไม่ใช้ไฟฟ้า 4.การแกะสลัก จากการสัมภาษณ์คุณเอมฐิญา เขตสิทธิ คือ การแกะสลักนั้นจะใช้เครื่องมือที่เรียกว่า “สิ่ว” สิ่วจะมีหลายขนาดที่แตกต่างกันไป โดยจะเริ่มใช้สิ่วที่สำหรับในการลงลายเส้น เพื่อเก็บรายละเอียดถึงจะนำไปแกะสลัก รายชื่อคณะทำงานแกะสลักไม้บ้านยางทอง 1. นายวิรัตน์ คะปุคำ (ลุงรัตน์) ขึ้นรูปไม้แกะสลัก 2. นางชวนชม คะปุคำ (ป้าชม) แผนกขึ้นลายไม้ 3. นายคำ ใจกันทะ (ลุงคำ) แผนกฉลุลายไม้ 4. นางเอมฐิญา เขตสิทธิ (พี่อุรา) แผนกแกะสลักไม้รูปภาพ
ไฟล์เอกสาร