สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
สภาพทั่วไปของตำบลสันปูเลย
ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนมีอาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ ติดต่อกับ เทศบาลตำบลตลาดขวัญ
ทิศใต้ ติดต่อกับ เทศบาลตำบลสันกลาง
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ เทศบาลตำบลสำราญราษฎร์
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ เทศบาลตำบลสันพระเนตร
มีเนื้อที่ประมาณ 19.09 ตารางกิโลเมตร (11,875 ไร่) ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม มีเนื้อที่การเกษตรประมาณ 3,582 ไร่ พื้นที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูกและทำนา
ลักษณะภูมิประเทศ มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่ม พื้นที่เหมาะแก่การเพาะปลูกและทำนา เป็นพื้นที่กึ่งเมืองกึ่งชนบท และยังคงมีพื้นที่สีเขียวที่ประกาศโดยกรมป่าไม้ และกรมที่ดิน เป็นที่อนุรักษ์รักษาสิ่งแวดล้อม
ลักษณะภูมิอากาศ มีสภาพอากาศเย็นและร้อนผสมกัน แบ่งได้เป็น 3 ฤดู คือ
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึงเดือนพฤษภาคมของทุกปี อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 25.0 – 36.2 องศาเซลเซียส
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึงเดือนตุลาคมของทุกปี อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 22. 2 – 32.7 องศาเซลเซียส
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 15.7 – 30.0 องศาเซลเซียส
ลักษณะดินและธรณีวิทยา ด้วยพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินร่วนเหนียว และดินร่วนปนทราย จึงเหมาะแก่การเพาะปลูกพื้นทุกประเภท ดินทราย เป็นดินที่ประกอบด้วยทรายตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป โดยน้ำหนักมีสมบัติเมหือนทราย เนื้อดินมีลักษณะหยาบ เม็ดดินไม่เกาะตัวกัน ทำให้การระบายน้ำได้เร็วมาก จึงไม่สามารถกักเก็บน้ำไว้ได้นาน เหมาะสำหรับปลูกพืชที่ต้องการน้ำน้อย และมีความอดทนสูง เช่น ตะบอกเพชร เป็นต้น ดินเหนียว เป็นดินที่เนื้อละเอียดแน่น มีการจับตัวกันอย่างหนาแน่น มีช่องว่างระหว่างเม็ดดินน้อย อุ้มน้ำได้ดี และไม่ยอมให้น้ำซึมผ่านได้ง่าย แต่การระบายถ่ายเทอากาศไม่สะดวก เหมาะสำหรับปลูกพืชที่ต้องการน้ำมาก เช่น ข้าว บัว เป็นต้น ดินร่วน เป็นดินที่ประกอบด้วยทราย โคลนตม และดินเหนียว โดยมีปริมาณดินทรายและดินเหนียวไม่มากนัก ดินชนิดนี้จะมีช่องว่างระหว่างเม็ดดินมาก ทำให้น้ำซึมได้สะดวกแต่การอุ้มน้ำน้อยกว่าเดินเหนียว เหมาะสำหรับปลูกพืช ส่วนมาก เช่น ฟักทอง คะน้า ถั่วฝักยา ผลไม้ มะละกอ ส้ม เงาะ เป็นต้น ดังนั้น ลักษณะดินในพื้นตำบลสันปูเลยซึ่งเป็นสภาพเป็นดินร่วมเหนียวปนทราย จึงมีคุณสมบัติในการยึดหน้าหน้าดินและเหมาะแก่การทำเกษตรกรรมนั่นเอง
แหล่งน้ำในพื้นที่ตำบลสันปูเลย พื้นที่ส่วนใหญ่จะมีแหล่งน้ำธรรมชาติขนาดกลาง มีความจุน้ำที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ เช่น เพื่อการเกษตร และอุปโภค บริโภค มีฝาย ลำน้ำ ลำห้วย และลำเหมืองสาธารณะ ครอบคลุมพื้นที่ 15 หมู่บ้าน ซึ่งมีฝายส่งน้ำจากเขื่อนแม่กวงอุดมธารา และเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล นอกจากนี้ยังมีแหล่งน้ำธรรมชาติ ได้แก่ แอ่งน้ำธรรมชาติบ้านยางพระธาตุ หมู่ที่ 11 ที่ใช้ประโยชน์ด้านเกษตรอีกด้วย
ตำบลสันปูเลยประกอบด้วย 15 หมู่บ้าน โดยมีรายชื่อหมู่บ้านดังนี้
หมู่ที่ 1 บ้านสันปูเลย หมู่ที่ 9 บ้านสันต้นม่วงใต้
หมู่ที่ 2 บ้านสันต้นดู่ หมู่ที่ 10 บ้านร้องขุ่น
หมู่ที่ 3 บ้านป่าขุย หมู่ที่ 11 บ้านยางพระธาตุ
หมู่ที่ 4 บ้านยางทอง หมู่ที่ 12 บ้านสันทราย
หมู่ที่ 5 บ้านกอกหม่น หมู่ที่ 13 บ้านฝ้ายทอง
หมู่ที่ 6 บ้านป่าเสร้าหลวง หมู่ที่ 14 บ้านสันทุ่งใหม่
หมู่ที่ 7 บ้านท่ารั้ว หมู่ที่ 15 บ้านไร่กองงาม
หมู่ที่ 8 บ้านป่าเสร้าน้อย
หน่วยงานราชการและสถานที่ทางศาสนา ประกอบด้วย
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ จำนวน 1 แห่ง
โรงเรียน จำนวน 4 แห่ง
สถานีตำรวจ จำนวน 1 แห่ง
วัด จำนวน 12 แห่ง
โบสถ์ จำนวน 3 แห่ง
หน่วยเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลและผู้บริการท้องถิ่นแบบออกเป็น 22 หน่วยเลือกตั้ง คือ
หน่อยเลือกตั้งที่ 1 บ้านสันปูเลย หมู่ที่ 1 หน่วยเลือกตั้งที่ 12 บ้านท่ารั้ว หมู่ที่ 7
หน่วยเลือกตั้งที่ 2 บ้านสันปูเลย หมู่ที่ 1 หน่วยเลือกตั้งที่ 13 บ้านป่าเสร้าน้อย หมู่ที่ 8
หน่วยเลือกตั้งที่ 3 บ้านสันต้นดู่ หมู่ที่ 2 หน่วยเลือกตั้งที่ 14 บ้านป่าเสร้าน้อย หมู่ที่ 8
หน่วยเลือกตั้งที่ 4 บ้านป่าขุย หมู่ที่ 3 หน่วยเลือกตั้งที่ 15 บ้านสันต้นม่วงใต้ หมู่ที่ 9
หน่วยเลือกตั้งที่ 5 บ้านป่าขุย หมู่ที่ 3 หน่วยเลือกตั้งที่ 16 บ้านร้องขุ่น หมู่ที่ 10
หน่วยเลือกตั้งที่ 6 บ้านป่าขุย หมู่ที่ 3 หน่วยเลือกตั้งที่ 17 บ้านร้องขุ่น หมู่ที่ 10
หน่วยเลือกตั้งที่ 7 บ้านยางทอง หมู่ที่ 4 หน่วยเลือกตั้งที่ 18 บ้านยางพระธาตุ หมู่ที่ 11
หน่วยเลือกตั้งที่ 8 บ้านกอกหม่น หมู่ที่ 5 หน่วยเลือกตั้งที่ 19 บ้านสันทราย หมู่ที่ 12
หน่วยเลือกตั้งที่ 9 บ้านกอกหม่น หมู่ที่ 5 หน่วยเลือกตั้งที่ 20 บ้านฝ้ายทอง หมู่ที่ 13
หน่วยเลือกตั้งที่ 10 บ้านป่าเสร้าหลวง หมู่ที่ 6 หน่วยเลือกตั้งที่ 21 บ้านสันทุ่งใหม่ หมู่ที่ 14
หน่วยเลือกตั้งที่ 11 บ้านท่ารั้ว หมู่ที่ 7 หน่วยเลือกตั้งที่ 22 บ้านไร่กองงาม หมู่ที่ 15
สภาพทางสังคมในบริบทชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบท
ด้านการศึกษา ตำบลสันปูเลยได้จัดการศึกษาตั้งแต่ระดับก่อนอนุบาล ถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยมีโรงเรียนในพื้นที่ จำนวน 5 แห่ง ได้แก่
1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลสันปูเลย
2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านป่าขุย
3. โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลสันปูเลย
4. โรงเรียนบ้านป่าเสร้า (ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3)
5. โรงเรียนบ้านป่าขุย (ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงประถมศึกษาปีที่ 6)
ด้านการสังคมสงเคราะห์ ในพื้นที่จะมีการให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับการสังคมสงเคราะห์โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้การสนับสนุนช่วยเหลือ และขอความช่วยเหลือจากหน่วยราชการอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเชียงใหม่ (สนง.พมจ.เชียงใหม่) เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนผู้ด้อยโอกาสในพื้นที่ และมีการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลสันปูเลย เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาสในพื้นที่ตำบลสันปูเลย
ข้อมูลสถิติประชากรและบ้านในพื้นที่ตำบลสันปูเลย (ท้องถิ่นเทศบาลตำบลสันปูเลย) จังหวัดเชียงใหม่
ชื่อหมู่บ้าน | ประชากร (ชาย) | ประชากร (หญิง) | รวมประชากร | รวมหลังคาเรือน |
หมู่ที่ 1 บ้านสันปูเลย หมู่ที่ 2 บ้านสันต้นดู่ หมู่ที่ 3 บ้านป่าขุย หมู่ที่ 4 บ้านยางทอง หมู่ที่ 5 บ้านกอกหม่น หมู่ที่ 6 บ้านป่าเสร้าหลวง หมู่ที่ 7 บ้านท่ารั้ว หมู่ที่ 8 บ้านป่าเสร้าน้อย หมู่ที่ 9 บ้านสันต้นม่วงใต้ หมู่ที่ 10 บ้านร้องขุ่น หมู่ที่ 11 บ้านยางพระธาตุ หมู่ที่ 12 บ้านสันทราย หมู่ที่ 13 บ้านฝ้ายทอง หมู่ที่ 14 บ้านสันทุ่งใหม่ หมู่ที่ 15 บ้านไร่กองงาม | 882 421 1,411 282 432 168 595 779 446 869 304 171 142 403 563 | 1,015 464 1,710 310 460 198 653 883 499 1,027 338 181 166 480 690 | 1,897 885 3,121 592 892 366 1,248 1,662 945 1,896 642 352 308 883 1,253 | 1,017 365 1,622 300 482 161 785 1,323 466 1,072 342 160 131 494 583 |
รวมข้อมูลประชากรตำบลสันปูเลย | 7,868 | 9,074 | 18,942 | 9,303 |
ข้อมูล: สำนักงานทะเบียนราษฎร์ เทศบาลตำบลสันปูเลย 20 กันยายน 2564
ข้อมูลระบบริการพื้นฐาน การคมนาคมขนส่งในพื้นที่ตำบลสันปูเลย มีถนนที่ได้รับการก่อสร้างและปรับปรุงซ่อมแซมครอบคลุมทั้ง 15 หมู่บ้าน เป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก ถนนแอสฟัลท์ติกคอนกรีตและถนนลูกรัง การไฟฟ้า มีไฟฟ้าเข้าถึงทุกหมู่บ้านและจำนวนครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าครบทุกหมู่บ้าน การประปา ส่วนใหญ่ในพื้นที่จะมีทุกหมู่บ้าน เป็นประปาบาดาลขนาดใหญ่เกือบทุกหมู่บ้าน ประชาชนได้รับการอุปโภคบริโภคอย่างทั่วถึง ระบบสื่อสาร มีโทรศัพท์สาธารณะและการบริการอินเตอร์ตำบล ระบบ WIFI ของตำบลสันปูเลย การบริการด้านข้อมูลข่าวสาร เครือข่ายมือถือ โทรศัพท์บ้านทุกเครือข่าย
ระบบเศรษฐกิจชุมชน ตำบลสันปูเลยมีความหลากหลายของอาชีพ ซึ่งได้แก่ การเกษตร ซึ่งมีพื้นที่ทำการเกษตรมากถึง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ทำกินทั้งหมด ประมาณ 3,582 ไร่ พื้นที่อุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การเพาะปลูกและทำนา ผลผลิตพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของตำบลสันปูเลย คือ ข้าว โดยมีปัจจัยที่ทำให้ภาคการเกษตรลดลงได้แก่ความแปรปรวนของสภาพอากาศ ทำให้เกิดภาวะฝนล่าช้าและฝนทิ้งช่วง ส่งผลต่อปริมาณน้ำในแหล่งกักเก็บน้ำอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ไม่เพียงพอต่อการทำการเกษตร การชะลอตัวทางเศรษฐกิจโลกส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในประเทศไทย ทั้งด้านการส่งออกสินค้าเกษตรไปยังประเทศคู่ค้า การประมง ในพื้นที่ไม่มีการทำการประมงแต่มีการเพาะเลี้ยงสัตย์น้ำจืด เช่น กุ้งแม่น้ำ ปู ปลาดุก ปลานิล เพื่อส่งออกและจำหน่ายโดยได้รับคำแนะนำจากสำนักงานเกษตรอำเภอดอยสะเก็ดและงานส่งเสริมการเกษตรตำบลสันปูเลย การปศุสัตว์ ในพื้นที่ตำบลสันปูเลยจะมีอาสาสมัครปศุสัตว์ทุกหมู่บ้าน จำนวน 15 หมู่บ้านๆ ละ 1 – 2 คน ศูนย์บริการชุมชน ในพื้นที่ตำบลสันปูเลยจะมีการให้บริการเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจ การให้คำปรึกษาด้านการอาชีพ ได้แก่ ร้านค้าชุมชนประชารัฐ ตลาดสด ตลาดนัดถนนคนเดิน การบริการนวดแผนไทย สถานีจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง ได้แก่ปั้มน้ำน้ำชุมชนขนาดกลาง สถานจำหน่ายน้ำมันในชุมชน สถานีจำหน่ายแก๊ส NGV/LPG โรงสีข้าว โรงแรง ร้านอาหาร หอพัก
การส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชน ตำบลสันปูเลยมีความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์ และกลุ่มอาชีพ มีสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นธรรมชาติ และสถานที่ท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น กลุ่มผลิตภัณฑ์ทำมือ ร้านค้า ร้านอาหาร รีสอร์ท ร้านจำหน่ายของที่ระลึก รวมถึงอุตสาหกรรม ธุรกิจ SME กลุ่มผู้ประกอบการรายย่อย ซึ่งในพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมประเภทการเกษตรแปรรูป การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ ในพื้นที่มีร้านค้าอยู่เป็นจำนวนมากที่ได้ขึ้นทะเบียนพาณิชย์เพื่อประกอบกิจการและมีสถิติเพิ่มขึ้นทุกปี โดยมีประเภทธุรกิจที่จดทะเบียนพาณิชย์สูงสุด คือร้านขายของชำ ร้านขายปุ๋ย ขายเคมีภัณฑ์ทางการเกษตร ร้านอาหาร เป็นต้น โดยมีประชากรด้านการท่องเที่ยวหลายกลุ่ม เช่น กลุ่มผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว เจ้าของกิจการ และกลุ่มแรงงาน โดยส่วนใหญ่จะเป็นแรงงานที่รับจ้างเป็นรายวัน รายเดือน ซึ่งมีแรงงานที่ทำงานประจำประมาณร้อยละ 50
เศรษฐกิจพอเพียงท้องถิ่น (ด้านการเกษตรและแหล่งน้ำ) ด้วยตำบลสันปูเลย เป็นพื้นที่กึ่งเมืองกึ่งชนบท มีสภาพแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทั้งเกษตรกรรมในครัวเรือน และเกษตรกรรมอุตสาหกรรม โดยมีข้อมูลพื้นฐานของหมู่บ้านหรือชุมชนด้านการเกษตรประมาณ 3,582 ไร่ ส่วนใหญ่พื้นที่ในตำบล 15 หมู่บ้านจะมีพื้นที่ทำการเกษตรครบทุกหมู่บ้าน และมีศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่จำนวน 1 แห่ง ศูนย์เรียนรู้เมล็ดพันธุ์ข้าว 1 แห่ง ส่วนข้อมูลด้านการเกษตร ประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพด้านการเกษตรโดยพื้นฐานได้แก่ อาชีพทำนา อาชีพทำสวน ทำไร่ และมีแหล่งน้ำด้านการเกษตรที่สมบูรณ์และเอื้อต่อการพัฒนาซึ่งมีแหล่งน้ำธรรมชาติที่ใช้เพื่อการเกษตรจำนวน 5 แห่ง และมีอ่างเก็บน้ำเพื่อการเกษตรรวมถึงอ่างเก็บน้ำสาธารณะ ซึ่งเกษตรกรได้ทำการอนุญาตขุดสระ เพื่อใช้กักเก็บน้ำด้านการเกษตรกรรม ด้านแหล่งน้ำกินน้ำใช้เพื่ออุปโภคบริโภค ในพื้นที่ตำบลสันปูเลยมีระบบน้ำประปาแบบบาดาลขนาดใหญ่ครบเกือบทุกหมู่บ้าน ประชาชนในพื้นที่บางส่วนบางหมู่บ้านมีการเจาะระบบน้ำบาดาลเพื่อใช้ประโยชน์เป็นการส่วนตัว ระบบประปาหมู่บ้าน โดยได้ขออนุญาตเทศบาลในการเจาะแหล่งน้ำจากใต้ดินเพื่อใช้อุปโภคบริโภค แหล่งน้ำกินบางพื้นที่มีบริการน้ำดื่มหยอดเหรียญไว้บริการประชาชนในพื้นที่อีกด้วย
ด้านการศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม ขนมธรรมเนียม ตำบลสันปูเลยมีประชากรและความหนาแน่นของครัวเรือนจึงมีความหลากหลายของชาติพันธุ์ อาชีพ และประเพณี ซึ่งส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และนับถือศาสนาอื่นบ้างบางส่วน มีวัดในพื้นที่ทั้งหมด 12 วัด มีโบสถ์คริสต์ 3 แห่ง ประเพณีและงานประจำปีในพื้นที่ตำบลสันปูเลยตลอด 1 ปี ได้แก่ ประเพณีแห่เทียนพรรษา ช่วงประเพณีเข้าพรรษา (ช่วงเดือนกรกฎาคม) ประเพณีปี๋ใหม่เมืองและพิธีรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ และประเพณีสงกรานต์ (ช่วงเดือนเมษายนของทุกปี) ประเพณียี่เป็ง หรือประเพณีลอยกระทง เทศกาลลอยโคม (ช่วงเดือนพฤศจิกายนของทุกปี) ประเพณีสลากภัตร ประเพณีตานก๋วยสลาก (ช่วงเดือนกันยายน) ประเพณีเดือนเก้าเป็ง (ช่วงเดือนตุลาคม) ประเพณีสรงน้ำพระธาตุ ประเพณีออกพรรษา ธรรมะสัญจร ประเพณีปอยหลวง รวมถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น ในพื้นที่ตำบลสันปูเลยที่เป็นการสืบสานและอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นบ้านโดยมี ศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นล้านนา ซึ่งมีการอนุรักษ์ดนตรีพื้นเมือง การจัดตั้งชมรมดนตรีพื้นเมืองล้านนาบริเวณวัดชัยสถานป่าเสร้าน้อย ภูมิปัญญาเกี่ยวกับยาสมุนไพรไทย (เฮือนหมอเมือง) สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึกในพื้นที่ตำบลสันปูเลย เช่น ไม่แกะสลัก กลุ่มประดิษฐ์กระดาษสา กลุ่มทำขนมจีน กลุ่มทำหมวกจักรสาน กลุ่มทำสินค้าแปรรูป เสื้อผ้าพื้นเมือง อาหารแปรรูป ของชำร่วย ของที่ระลึก ฯลฯ
ทรัพยากรธรรมชาติ ตำบลสันปูเลยมีความอุดมสมบูรณ์ และเป็นพื้นที่เกษตรกรรมแนวทฤษฎีใหม่ การทำเกษตรกรรมแบบผสมผสาน โดยมีทรัพยากรน้ำ ประกอบด้วยลำห้วย ลำคลอง หนองและบึงธรรมชาติหลายแห่ง ทรัพยากรป่าไม้ ซึ่งตำบลสันปูเลยได้รับการประกาศให้เป็นพื้นที่สีเขียวบางส่วน โดยทรัพยากรที่สร้างผลผลิตได้แก่ชุมชนได้แก่การทำเกษตรกรรม การปลูกข้าว ทำไร่ ทำนา และทำสวน