ข่าวประกาศต่างๆ
ภาพกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อ จัดจ้าง
LPA
ดาวน์โหลดเอกสาร
เกี่ยวกับหน่วยงาน
โครงสร้างบุคลากร
การดำเนินงานและบริหารเงินงบประมาณ
การบริหารทรัพยากรบุคคลและการส่งเสริมความโปร่งใส
การป้องกันการทุจริต
การจัดการองค์ความรู้
โครงสร้างผู้นำชุมชน
มาตรฐานกำหนดตำแหน่งพนักงาน
ข่าวสารเพื่อเกษตร: การเพิ่มมูลค่าสินค้าแปรรูปทางการเกษตร
22 มี.ค. 2565
รายละเอียด:
ข่าวสารเพื่อเกษตรกร: สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) แนะวิธีการทำเกษตรแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า การสร้างมูลค่าเพิ่มแก่สินค้าเกษตร เป็นเทคนิคที่สำคัญที่ช่วยให้เกษตรกรสามารถมีรายได้เพิ่มขึ้นจากผลผลิตทางการเกษตรของตัวเองได้ การนำผลผลิตทางการเกษตรมาเพิ่มลักษณะพิเศษหรือจุดเด่นให้ต่างไปจากเดิมเพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น ทั้งสินค้าที่เป็นอาหารและไม่ใช่อาหาร สินค้าแปรรูปด้านอาหาร สามารถเพิ่มคุณค่าและมูลค่าได้สูงสุด ช่วยส่งเสริมการตลาดทางการเกษตร เสริมสร้างอาชีพใหม่ๆ ในชุมชน ลดต้นทุนการผลิต ก่อให้เกิดสินค้าใหม่ๆ สร้างยอดขายและการตลาดมากขึ้น สินค้าแปรรูปการเกษตรชนิดอื่น เช่น มันสำปะหลัง แป้งสาลี ไม้ผลบางชนิด ต้นกก ผลิตภัณฑ์จากใบตาล ฯลฯ ที่สามารถนำมาแปรรูปเป็นของใช้สอย ของตกแต่งและของที่ระลึก เพิ่มมูลค่าทางการเกษตรให้มีความหลากหลาย และลดต้นทุนการผลิตมากขึ้น เสริมสร้างรายได้ในครัวเรือนและชุมชน วิธีการเพิ่มมูลค่าสินค้าทางการเกษตร การอบหรือการตากแห้ง เช่น มะม่วงอบแห้ง ปลาแห้ง การเผา คั่ว หรือการทอดอาหารพร้อมบริโภค เช่น แคบหมู ผักกรอบ การแช่แข็ง เช่น ข้าวสวยกึ่งสำเร็จรูปเพื่อสะดวกในการรับประทานและสามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน การทำเค็มโดยการหมักเกลืออาจนำไปผึ่งแดดหรือไม่ก็ได้ เช่น ปลาเค็ม การหมัก เช่น ปลาร้า ที่ไม่ต้องอาศัยเครื่องมือที่พิเศษทำให้ลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการ การหมักน้ำผลไม้เป็นเครื่องดื่มชนิดไวน์ ก่อให้เกิดประโยชน์ทางโภชนาการที่สูงกว่าน้ำผลไม้สด การดอง เช่น มะยมดอง มะม่วงดอง ทำให้อาหารมีสีมีกลิ่นและรสชาติต่างออกไป การทำให้แห้งโดยอาศัยธรรมชาติ การผึ่งลม ผึ่งแดด เช่น ปลา เนื้อสัตว์ เมล็ดธัญพืช ผลไม้ เช่น กล้วยตาก ซึ่งเป็นวิธีที่ลดต้นทุนการผลิตโดยใช้แสงแดดลดการเน่าเสียของอาหาร การสร้างแบรนด์ คือการสร้างภาพลักษณ์ของสินค้าให้ติดตลาดกลุ่มผู้บริโภคด้านคุณภาพของสินค้า ราคาและความโดดเด่นที่เหนือคู่แข่ง รวมถึงการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่โดดเด่นหรือสร้างสรรค์คือการสร้างความแตกต่างและเพิ่มมูลค่าให้สินค้าด้วยบรรจุภัณฑ์ มีความแปลกใหม่มีประโยชน์ สวยงาม เปิดปิดสะดวกสินค้ามีคุณภาพเหนือคู่แข่งหรืออาจใช้บรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากธรรมชาติแทนการใช้โฟมหรือพลาสติก (ข้อมูลข่าว: สนง.พัฒนาการวิจัยการเกษตร )รูปภาพ
ไฟล์เอกสาร