ข่าวประกาศต่างๆ
ภาพกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อ จัดจ้าง
LPA
ดาวน์โหลดเอกสาร
เกี่ยวกับหน่วยงาน
โครงสร้างบุคลากร
การดำเนินงานและบริหารเงินงบประมาณ
การบริหารทรัพยากรบุคคลและการส่งเสริมความโปร่งใส
การป้องกันการทุจริต
การจัดการองค์ความรู้
โครงสร้างผู้นำชุมชน
มาตรฐานกำหนดตำแหน่งพนักงาน
กฎหมายน่ารู้: ความผิดทางแพ่งและอาญาแตกต่างกันอย่างไร
25 เม.ย. 2565
รายละเอียด:
กฎหมายน่ารู้เพื่อชุมชน: ความผิดทางอาญาและความผิดทางแพ่งเหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร เนื่องจากกฎหมายอาญามีความประสงค์ที่จะคุ้มครองความปลอดภัยของชุมชนแต่กฎหมายแพ่งมีความประสงค์ที่จะคุ้มครองสิทธิของเอกชน จึงมีข้อแตกต่างกันคือ ความผิดทางอาญา เป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือเกิดความหวาดหวั่นแก่บุคคลทั่วไป ความผิดทางอาญาส่วนใหญ่จึงถือว่าเป็นความผิดต่อแผ่นดินหรือประชาชนทั่วไป ความผิดทางแพ่ง เป็นเรื่องระหว่างเอกชนต่อเอกชนด้วยกัน ไม่มีผลเสียหายต่อสังคมแต่อย่างใด กฎหมายอาญานั้นมีวัตถุประสงค์ลงโทษผุ้กระทำความผิด ฉะนั้นหากผู้กระทำความผิดตายลงการสืบสวนสอบสวน การฟ้องร้องหรือการลงโทษก็เป็นอันระงับไป ส่วนความผิดทางแพ่งเป็นเรื่องของการชดใช้สินไหมทดแทนความเสียหายซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับทรัพย์สินของบุคคล เมื่อผู้กระทำผิดตายลงผู้เสียหายย่อมฟ้องเรียกค่าเสียหายนต่างๆ จากกองมรดกของผู้กระทำผิดได้ เว้นแต่จะเป็นหนี้เฉพาะตัว เช่น นายแดงว่าจ้างนายดำให้วาดรูปให้โดยตกลงจะให้ค่าจ้างแต่ยังไม่ได้ให้ ต่อมานายแดงตายลงก็ถือว่าหนี้นั้นระงับลง ส่วนความผิดทางอาญาถือเจตนาเป็นใหญ่ในการกำหนดโทษ เนื่องจากการกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 59 บัญญัติว่า “บุคคลต้องรับผิดทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทำโดยเจตนา เว้นแต่ได้กระทำโดยประมาท ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทำโดยประมาทหรือเว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดให้ต้องรับผิดแม้ได้กระทำโดยไม่มีเจตนา” ซึ่งต่างจากความผิดทางแพ่งที่ไม่ว่าจะกระทำโดยเจตนาหรือประมาทผู้กระทำก็ต้องรับผิดในการกระทำนั้น ความผิดทางอาญาโทษที่จะลงแก่ตัวผู้กระทำผิดถึงโทษประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน ส่วนกฎหมายแพ่งนั้นไม่มีโทษเป็นเพียงถูกบังคับให้ชำระหนี้หรือชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ซึ่งส่วนใหญ่ความผิดทางอาญาไม่อาจยอมความได้เว้นแต่ความผิดส่วนตัวหรือที่กฎหมายอาญาบัญญัติไว้ ความผิดอันยอมความได้ เช่น ความผิดฐานหมิ่นประมาท ความผิดฐานยักยอก เป็นต้น ส่วนความผิดทางแพ่งผู้เสียหายอาจยกเว้นความรับผิดให้ได้โดยไม่นำคดีขึ้นฟ้องร้องต่อศาลหรือเรียกร้องหนี้สินแต่อย่างใด (ข้อมูล: กรมบังคับคดี)รูปภาพ
ไฟล์เอกสาร