กฎหมายน่ารู้เพื่อชุมชน: กรณีที่เป็นสุนัขที่มีเจ้าของชัดเจน แต่ข้าวของละเลยไม่ควบคุมสุนัขของตัวเอง ปล่อยออกมาอยู่ในทางสาธารณะ ต้องดูเป็นกรณีไปว่าในท้องที่นั้นๆ มีกฎหมายประจำท้องถิ่นควบคุมเรื่องการปล่อยสุนัขไว้หรือไม่ ถ้ามีกฎหมายบัญญัติไว้และเจ้าของปล่อยปละละเลยไม่ควบคุม ถ้าสุนัขตัวนั้นเคยมีประวัติกัดหรือแสดงอาการดุร้ายจนเป็นที่ประจักษ์ทั่วไป สุนัขตัวนั้นเข้าข่ายการเป็น “สัตว์ดุ” ตามประมวลกฎหมายอาญา การปล่อยปละให้ไปเที่ยวโดยลำพัง ซึ่งอาจทำอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน ถือว่าผิดกฎหมายอาญา มาตรา 377 มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000.- บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าสุนัขตัวนั้นไม่เคยมีประวัติกัดหรือแสดงอาการดุร้ายจนเป็นที่ประจักษ์ทั่วไป สุนัขตัวนั้นก็ไม่เข้าข่ายการเป็น “สัตว์ดุ” ตามกฎหมายอาญา ยังสามารถไปเที่ยวตามลำพูงได้ ระดับความดุของสุนัขเพื่อความปลอดภัยในชีวิต ทั้งนี้ไม่ว่าสุนัขตัวไหนจะถือเป็นสัตว์ดุหรือไม่ใช่สัตว์ดุตามที่กล่าวมา แต่ถ้าเกิดไปทำร้ายคนอื่นก็ต้องว่าไปตามความผิดของกฎหมาย และหากสุนัขตัวนั้นไปกัดเด็กจนได้รับบาดแผลหน้าเสียโฉมไปตลอดชีวิต เจ้าของสุนัขต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 300 ฐานประมาททำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส หรือถ้าหากเด็กเสียชีวิต เจ้าของสุนัขก็ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 291 ฐานประมาททำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย (ข้อมูลข่าว: กฎหมายท้องถิ่น พ.ศ. 2548)
สถิติการเข้าชมเริ่มวันที่ | วันนี้ | เมื่อวานนี้ | เดือนนี้ | เดือนก่อน | ปีนี้ | ปีก่อน | ทั้งหมด | ไอพี ของคุณ |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
01/05/2556 | 491 | 15240 | 24852 | 35380 | 137846 | 266894 | 839496 | 18.204.56.185 |